วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

ยานอวกาศ


ยานอวกาศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นดุ๊กดิ๊ก

อ้างอิงรูปภาพ

           ยานอวกาศ (Spacecraft) หมายถึง ยานพาหนะที่นำมนุษย์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติขึ้นไปสู่อวกาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจโลกหรือเดินทางไปยังดาวดวงอื่น ยานอวกาศมี 2 ประเภท คือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม  
        ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม (Manned Spacecraft) มีขนาดใหญ่ เพราะต้องมีปริมาตรพอที่มนุษย์อยู่อาศัยได้ และยังต้องบรรทุกปัจจัยต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการ เช่น อากาศ อาหาร และเครื่องอำนวยความสะดวกในการยังชีพ เช่น เตียงนอน ห้องน้ำ  ดังนั้นยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมจึงมีมวลมาก การขับดันยานอวกาศที่มีมวลมากให้มีอัตราเร่งสูงจำเป็นต้องใช้จรวดที่บรรทุกเชื้อเพลิงจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก  
ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมได้แก่ ยานอะพอลโล (Apollo) ซึ่งนำมนุษย์ไปยังดวงจันทร์   

            
  ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม (Unmanned Spacecraft) มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม ยานอวกาศชนิดนี้มีมวลน้อยไม่จำเป็นต้องใช้จรวดนำส่งขนาดใหญ่จึงมีความประหยัดเชื้อเพลิงมาก อย่างไรก็ตามในการควบคุมยานในระยะไกลไม่สามารถใช้วิทยุควบคุมได้ เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องใช้เวลาในการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น ดาวเสาร์อยู่ไกลจากโลกประมาณ 1 พันล้านกิโลเมตร หรือ 1 ชั่วโมงแสง  หากส่งคลื่นวิทยุไปยังดาวเสาร์ คลื่นวิทยุต้องใช้เวลานานถึง 1 ชั่วโมง ดังนั้นการควบคุมให้ยานเลี้ยวหลบหลีกก้อนน้ำแข็งบริเวณวงแหวนจะไม่ทันยานอวกาศประเภทนี้จึงต้องมีสมองกลคอมพิวเตอร์และระบบซอฟต์แวร์ซึ่งฉลาดมาก เพื่อให้ยานอวกาศสามารถต้องปฏิบัติภารกิจได้เองทุกประการและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที  เหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุมในงานสำรวจระยะบุกเบิกและการเดินทางระยะไกล เนื่องจากการออกแบบยานไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต ทำให้ยานสามารถเดินทางระยะไกลได้เป็นระยะเวลานานนอกเหนือขีดจำกัดของมนุษย์ยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุมได้แก่ ยานแคสินี (Cassini spacecraft) ซึ่งใช้สำรวจดาวเสาร์ เป็นต้น



     อ้างอิงรูปภาพ


21 กรกฎาคม – ครบรอบ 50 ปี ยานอะพอลโล 11 นำมนุษย์เหยียบ             ดวงจันทร์ครั้งแรก

 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1969 มนุษย์สามารถเดินทางไปถึงดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก นับเป็นก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่งแต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติเลยทีเดียว ความสำเร็จครั้งนี้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่อย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นแผนที่บนดวงจันทร์แบบละเอียดองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากตัวอย่างหินและดินที่เก็บมาจากดวงจันทร์ ระบบเทคโนโลยีการบิน รวมไปถึงระบบขนส่งต่าง ๆภารกิจนี้ทางองค์กรนาซาได้ทำการศึกษาพื้นผิวของดวงจันทร์เป็นเวลานานกว่า 2 ปี โดยใช้ภาพถ่ายคุณภาพสูงจากดาวเทียม Lunar Orbiter กับรูปถ่ายจากยาน Surveyor เพื่อแสวงหาพื้นที่ที่ดีที่สุดที่จะทำการสร้างประวัติศาสตร์ในการลงจอดยานอะพอลโล 11 และประทับรอยเท้าของมนุษย์โลกลงบนพื้นผิวอื่นนอกเหนือจากโลกเป็นครั้งแรกและในปีนี้จะครบรอบ 50 ปีของภารกิจอะพอลโล 11 ที่นีล อาร์มสตรองและบัซ อัลดริน ได้ลงเดินบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก และแน่นอนว่าเนื่องในโอกาสอันแสนพิเศษครั้งนี้ หน่วยงานอวกาศจากทั่วทุกมุมโลกก็ย่อมจะมีการเฉลิมฉลองเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้อย่างแน่นอน

                                                        



การศึกษาเรื่องราวอวกาศ การเดินทางในอวกาศ ข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รวมไปถึงการดำเนินชีวิตบนโลกของมนุษย์ที่ขึ้นกับเทคโนโลยีต่าง ๆ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ระบบขนส่งที่ก้าวไกลขึ้นกว่าเดิมได้



ข่าวสารด้านยานอวกาศ
                            
    à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง   ยานอินไซต์ ลงจอดบนดาวอังคารสำเร็จแล้ว


            เวลา 02.53 วันที่ 27 พฤศจิกายน2561 เว็บไซต์ องค์บริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา(นาซา) รายงานว่า ยานอินไซต์ ที่มีเป้าหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างของดาวอังคาร ซึ่งถูกส่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561 ได้ลงจอด บนดาวอังคารเรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางความตื่นเต้นดีใจของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการลุ้นระทึกของผู้ที่เฝ้าติดตามภารกิจแห่งมนุษยชาตินี้จากทั่วโลกยานอินไซต์ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของดาวอังคาร ตั้งแต่ชั้นเปลือก ชั้นแมนเทิลลงไปจนถึงแกนกลางของดาว ช่วยให้ตอบคำถามได้ว่าดาวเคราะห์หินในระบบสุริยะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร   ซึ่งดาวอังคารและโลกต่างก็เป็นดาวเคราะห์หิน การศึกษาโครงสร้างภายในของดาวอังคารจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของโลกเช่นเดียวกันอีกหนึ่งวัตถุประสงค์หลักของยานอินไซต์ คือ การศึกษาธรณีแปรสัณฐานในดาวอังคาร เพื่อตอบคำถามว่าบนดาวอังคารมีแผ่นดินไหวรุนแรงมากน้อยเพียงใด และศึกษาว่ามีอุกกาบาตตกลงมายังพื้นผิวดาวอังคารมากน้อยขนาดไหนเนื่องจากดาวอังคารมีขนาดเล็กกว่าโลกประมาณ 1 ใน 3 เท่า ทำให้ดาวอังคารไม่มีพลังงานมากพอที่จะเกิดธรณีแปรสัณฐานรุนแรงมากนักเมื่อเทียบกับโลก พื้นที่ส่วนมากบนผิวดาวจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 พันล้านปี ทำให้ดาวอังคารเป็น “ห้องทดลอง” การศึกษาดาวเคราะห์หินในอดีตได้เป็นอย่างดียานอินไซต์ ถูกส่งทะยานขึ้นสู่อวกาศโดยกระสวยอวกาศ Atlas ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม  2561 มีจุดหมายลงจอดบริเวณที่ราบใกล้เส้นศูนย์สูตรของดาวอังคาร ชื่อว่า Elysium Planitiaยานอินไซต์จะมีระยะเวลาปฏิบัติภารกิจประมาณ 1 ปี ของดาวอังคาร หรือประมาณ 2 ปีของโลก                                            

                                
                                                             อ้างอิงรูปภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น